1. การโอนหุ้นกู้ | ดาวน์โหลด แบบฟอร์ม ศรท-101 |
การโอนหุ้นกู้ สามารถทำให้ได้ 2 วิธี ดังนี้ | |
1) การโอนใบหุ้นกู้โดยการสลักหลังใบหุ้นกู้ | |
นายทะเบียนจะประทับตรารับรองการโอนด้านหลังใบหุ้นกู้ฉบับเดิม และรอรับใบหุ้นกู้ฉบับเดิมที่รับรองแล้วกลับได้ ทั้งนี้ ด้านหน้าใบหุ้นกู้ยังเป็นชื่อผู้ถือหุ้นกู้เดิมและชื่อผู้รับโอนจะแสดงอยู่ด้านหลังใบหุ้นกู้ในช่องผู้รับโอน | |
2) การโอนหุ้นกู้โดยออกใบหุ้นกู้ใหม่ | |
นายทะเบียนจะจัดพิมพ์ใบหุ้นกู้ฉบับใหม่ เป็นชื่อของผู้ถือหุ้นกู้ที่รับโอนสิทธิ์ | |
ขั้นตอนการโอนใบหุ้นกู้ | |
1. กรอกแบบฟอร์ม “ศรท-101 แบบคำขอลงทะเบียนรับโอนหลักทรัพย์” พร้อมแนบใบหุ้นกู้ต้นฉบับ และเอกสารประกอบตามที่ระบุไว้ท้ายแบบฟอร์ม (กรณีออกใบหุ้นกู้ใหม่ต้องมีพยานลงนาม และแนบสำเนาบัตรประชาชนพยานพร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง) | |
2. ลงนามสลักหลังใบหุ้นกู้ฉบับจริง โดยด้านหลังใบหุ้นกู้ผู้ถือหุ้นกู้ลงชื่อสลักหลังในช่องผู้โอน และผู้รับโอนลงชื่อสลักหลังในช่องผู้รับโอน | |
3. ยื่นเอกสารทั้งหมดต่อนายทะเบียน พร้อมทั้งแจ้งความประสงค์ว่า ต้องการโอนหุ้นกู้โดยการประทับตรารับรองการโอนแบบสลักหลัง หรือ โดยการออกใบหุ้นกู้ฉบับใหม่ | |
ผู้โอนและผู้รับโอนหุ้นกู้สามารถยื่นเอกสารด้วยตนเองที่นายทะเบียน โดยต้องแสดงบัตรประชาชนฉบับจริง กรณีไม่ยื่นเอกสารด้วยตนเอง ต้องมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน โดยระบุในส่วนท้ายแบบคำขอฯ และแนบเอกสารเพิ่มเติมคือ สำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจกระทำการแทนด้วย ทั้งนี้วันยื่นเอกสารผู้รับมอบอำนาจจะต้องนำบัตรประชาชนฉบับจริงของตนเองและผู้โอน/ผู้รับโอนหุ้นกู้ไปแสดงตนด้วย หรือ | |
กรณียื่นเอกสารโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ตามที่อยู่ที่ปรากฎในท้ายแบบฟอร์ม โดยต้องแนบเอกสารหนังสือรับรองสำเนารายการเกี่ยวกับบัตรประชาชนที่ออกโดยสำนักงานเขต/อำเภอฉบับจริงของผู้โอนและผู้รับโอน | |
4. การรับใบหุ้นกู้ : | |
กรณีโอนใบหุ้นกู้โดยการสลักหลังใบหุ้นกู้เดิม สามารถรอรับใบหุ้นกู้กลับได้ทันที | |
กรณีขอออกใบหุ้นกู้ฉบับใหม่ นายทะเบียนจะใช้เวลาในการจัดพิมพ์ใบหุ้นกู้ฉบับใหม่ประมาณ 14 วันทำการ ตามวิธีการรับใบหุ้นกู้ที่ท่านระบุในแบบคำขอลงทะเบียนรับโอนหลักทรัพย์ (รับด้วยตนเอง หรือ จัดส่งทางไปรษณีย์) | |
หมายเหตุ *หากท่านกรอกรายละเอียดในแบบคำขอผิด ให้ขีดฆ่าคำที่ผิด และลงนามกำกับที่ขีดฆ่า ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิด | กลับสู่ด้านบน |
2. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้ถือหุ้นกู้ SCC (คำนำหน้าชื่อ/ ชื่อ-นามสกุล / ที่อยู่) | ดาวน์โหลด แบบคำขอ ศรท-301 |
ผู้ถือหุ้นกู้แจ้งแก้ไขเปลี่ยนแปลง คำนำหน้าชื่อ / ชื่อ / นามสกุล / ที่อยู่ในการจัดส่งเอกสารจากนายทะเบียน (TSD) โดยการแก้ไขข้อมูลจะมีผลเมื่อนายทะเบียนได้รับหนังสือไม่น้อยกว่า 5 วันทำการก่อนวันปิดสมุดทะเบียน ในกรณีที่ฝากหุ้นกู้ไว้กับบริษัทสมาชิก (โบรกเกอร์) จะต้องแจ้งแก้ไขโดยติดต่อบริษัทสมาชิก (โบรกเกอร์) ของท่านโดยตรง | |
ขั้นตอนการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้ถือหุ้นกู้ SCC | |
1. กรอกแบบฟอร์ม “ศรท-301 แบบคำขอแก้ไขข้อมูลผู้ถือหลักทรัพย์” พร้อมแนบเอกสารประกอบตามที่ระบุไว้ท้ายแบบฟอร์ม | |
การแก้ไขคำนำหน้าชื่อ/ชื่อ/นามสกุล ต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม ได้แก่ หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว/นามสกุล ใบสำคัญการสมรส ใบสำคัญหย่า แล้วแต่กรณี และแนบใบหุ้นกู้ฉบับจริง เพื่อให้นายทะเบียนจะดำเนินการแก้ไขและออกใบหุ้นกู้ฉบับใหม่ | |
2. ยื่นเอกสารทั้งหมดต่อนายทะเบียน TSD (กรณีถือเป็นใบหุ้นกู้) | |
กรณียื่นเอกสารด้วยตนเอง พร้อมแสดงบัตรประชาชนฉบับจริง | |
กรณีไม่ได้ยื่นเอกสารด้วยตนเอง ต้องมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยระบุในส่วนท้ายแบบคำขอ โดยต้องแนบเอกสารเพิ่มเติมคือ สำเนาบัตรประชาชนของรับมอบอำนาจกระทำการแทน ทั้งนี้วันยื่นเอกสารผู้รับมอบอำนาจจะต้องนำบัตรประชาชนฉบับจริงของตนเองและผู้ถือหุ้นกู้ไปแสดงตนด้วย | |
กรณีส่งเอกสารทางไปรษณีย์ลงทะเบียน แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่ได้รับลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าของบัตร | |
3. การรับใบหุ้นกู้ (กรณีแก้ไขคำนำหน้าชื่อ / ชื่อ / นามสกุล ซึ่งต้องแก้ไขในใบหุ้นกู้) นายทะเบียนจะใช้เวลาในการจัดพิมพ์ใบหุ้นกู้ฉบับใหม่ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งจะนำส่งใบหุ้นกู้ฉบับใหม่จัดส่งทางไปรษณีย์ | |
หมายเหตุ *หากท่านกรอกรายละเอียดในแบบคำขอผิด ให้ขีดฆ่าคำที่ผิด และลงนามกำกับที่ขีดฆ่า ห้ามใช้ น้ำยาลบคำผิด | |
กลับสู่ด้านบน |
3. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงวิธีการรับดอกเบี้ยหุ้นกู้ | ดาวน์โหลดเอกสาร |
ผู้ถือหุ้นกู้แจ้งเปลี่ยนแปลงวิธีการรับดอกเบี้ยได้ โดยกรอกแบบฟอร์มเฉพาะหุ้นกู้ SCC ซึ่งจะมีผลกับหุ้นกู้ชุดที่ผู้ถือหุ้นกู้เขียนระบุไว้เท่านั้น หรือหากใช้แบบฟอร์ม TSD ศรท.201 จะเป็นการแก้ไขกับทุกหลักทรัพย์ที่ผู้ถือหุ้นกู้ถือครองทั้งหมด (หุ้นสามัญและหุ้นกู้) ที่มีบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) เป็นนายทะเบียน | |
ขั้นตอนการแจ้งเปลี่ยนแปลงวิธีการรับดอกเบี้ยหุ้นกู้ | |
1. กรอกแบบฟอร์ม “แบบฟอร์มคำขอแก้ไขข้อมูลผู้ถือหุ้นกู้ SCC” หัวข้อแก้ไขวิธีการรับดอกเบี้ยหุ้นกู้ SCC พร้อมแนบเอกสารประกอบ | |
กรณีบุคคลทั่วไป : แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ถือหลักทรัพย์และสำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร/ Bank Statement ที่ปรากฏชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ถือหุ้นกุ้ | |
กรณีอื่น ๆ : โปรดแนบเอกสารตามที่ระบุไว้ท้ายแบบฟอร์ม | |
2. ยื่นเอกสารตามข้อ 1 ต่อนายทะเบียนบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) | |
ยื่นเอกสารด้วยตนเองที่นายทะเบียน หากไม่ได้ยื่นเอกสารด้วยตนเองต้องระบุในส่วนท้ายแบบคำขอเพื่อมอบหมายให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน โดยต้องแนบเอกสารเพิ่มเติมคือ สำเนาบัตรประชาชนของรับมอบอำนาจกระทำการแทน ทั้งนี้วันยื่นเอกสาร ผู้รับมอบอำนาจจะต้องนำบัตรประชาชนฉบับจริงของตนเองและผู้ถือหุ้นกู้ไปแสดงตนด้วย หรือ | |
ยื่นเอกสารทั้งหมดโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ตามที่อยู่ที่ปรากฎในท้ายแบบฟอร์ม | |
หมายเหตุ *หากท่านกรอกรายละเอียดในแบบคำขอผิดให้ขีดฆ่าคำที่ผิดและลงนามกำกับที่ขีดฆ่า ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิด | |
ข้อควรทราบ | |
ผู้ถือหุ้นกู้ยื่นเอกสารขอแก้ไขข้อมูลด้วยตนเองที่นายทะเบียน การแก้ไขข้อมูลจะมีผลในวันที่ยื่นเอกสาร | |
กรณีจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ นายทะเบียนจะทำการบันทึกข้อมูลการเปลี่ยนแปลงวิธีการรับดอกเบี้ย ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการรับเงินปันผล / ดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร | |
ในกรณีที่ไม่สามารถโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารได้ นายทะเบียนจะออกเช็คและจัดส่งให้ผู้ถือหุ้นกู้ในภายหลัง | |
กลับสู่ด้านบน |
4. การออกใบหุ้นกู้ฉบับใหม่ (แยกใบหุ้นกู้ / รวมใบหุ้นกู้ / ชำรุด / เปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ/ชื่อ/นามสกุล) | ดาวน์โหลด แบบฟอร์ม ศรท-102 |
ผู้ถือหุ้นกู้สามารถขอออกใบหุ้นกู้ฉบับใหม่ ในกรณีต่างๆ ดังนี้ | |
แยกใบหุ้นกู้ / รวมใบหุ้นกู้ เป็น 1 ฉบับ | |
ชำรุด | |
เปลี่ยน คำนำหน้าชื่อ / ชื่อตัว /นามสกุล | |
ขั้นตอนการแจ้งออกใบหุ้นกู้ฉบับใหม่ | |
1. กรอกแบบฟอร์ม “ศรท-102 แบบคำขอออกใบหลักทรัพย์ฉบับใหม่” พร้อมระบุความประสงค์เลือกวิธีการรับใบหุ้นกู้ฉบับใหม่ และแนบเอกสารประกอบดังนี้ | |
กรณีบุคคลทั่วไป : | |
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ถือหลักทรัพย์พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และ | |
ใบหุ้นกู้ฉบับเดิม | |
หลักฐานใบสำคัญการเปลี่ยนแปลง คำนำหน้า/ชื่อตัว/ชื่อสกุล, ใบสำคัญการหย่า แล้วแต่กรณี | |
กรณีอื่นๆ : | |
โปรดแนบเอกสารหลักฐานตามที่ระบุไว้ท้ายแบบฟอร์ม | |
2. ยื่นเอกสารทั้งหมดต่อนายทะเบียน | |
ยื่นเอกสารทั้งหมดด้วยตนเองที่นายทะเบียน หากไม่ได้ยื่นเอกสารด้วยตนเองต้องระบุในส่วนท้าย แบบคำขอเพื่อมอบหมายให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน โดยต้องแนบเอกสารเพิ่มเติมคือ สำเนาบัตร ประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจกระทำการแทน ทั้งนี้วันยื่นเอกสาร ผู้รับมอบอำนาจจะต้อง นำบัตรประชาชนฉบับจริงของตนเองและผู้ถือหุ้นกู้ไปแสดงตนด้วย หรือ | |
ยื่นเอกสารทั้งหมดโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน | |
3. การรับใบหุ้นกู้ฉบับใหม่ นายทะเบียนจะใช้เวลาในการจัดพิมพ์ใบหุ้นกู้ฉบับใหม่ประมาณ 2-3 สัปดาห์ และนำส่งใบหุ้นกู้ฉบับใหม่ตามวิธีการรับใบหุ้นกู้ที่ท่านระบุไว้ในแบบคำขอออกใบหลักทรัพย์ฉบับใหม่ | |
หมายเหตุ *หากท่านกรอกรายละเอียดในแบบคำขอผิด ให้ขีดฆ่าคำที่ผิด และลงนามกำกับที่ขีดฆ่า ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิด | |
กลับสู่ด้านบน |
5. การออกใบหุ้นกู้ฉบับใหม่ (สูญหาย) | ดาวน์โหลด แบบฟอร์ม ศรท-102 |
กรณีใบหุ้นกู้สูญหายผู้ถือหุ้นกู้สามารถขอออกใบหุ้นกู้ฉบับใหม่ได้ โดยผู้ถือหุ้นกู้จะต้องมีเอกสารประกอบ คือ บันทึกแจ้งความของสถานีตำรวจ โดยจะต้องมีรายละเอียดดังนี้ | |
1) ชื่อผู้ถือหุ้นกู้ | |
2) ชื่อหุ้นกู้ (รุ่นหุ้นกู้) | |
3) เลขที่ใบหุ้นกู้ | |
4) จำนวนหุ้นที่สูญหาย | |
กรณีที่ไม่มีข้อมูลข้างต้นไม่ครบถ้วนสามารถติดต่อขอรายละเอียดได้ที่นายทะเบียนบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด 93 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10110 ศูนย์บริการข้อมูล TSD โทร. 02-009-9999 กด 0 กด 1 | |
ขั้นตอนการแจ้งออกใบหุ้นกู้ฉบับใหม่ (สูญหาย) | |
1. กรอกแบบฟอร์ม “แบบคำขอออกใบหลักทรัพย์ฉบับใหม่” พร้อมระบุความประสงค์เลือกวิธีการรับใบหุ้นกู้ฉบับใหม่ และแนบเอกสารประกอบดังนี้ | |
กรณีบุคคลทั่วไป : | |
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ถือหลักทรัพย์พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และ | |
บันทึกแจ้งความของสถานีตำรวจ | |
กรณีอื่นๆ : | |
โปรดแนบเอกสารหลักฐานตามที่ระบุไว้ท้ายแบบฟอร์ม | |
2. ยื่นเอกสารทั้งหมดต่อนายทะเบียน (TSD) | |
ยื่นเอกสารทั้งหมดด้วยตนเองที่นายทะเบียน โดยนำบัตรประชาชน ฉบับจริงเพื่อแสดงตนด้วย หากไม่ได้ยื่นเอกสารด้วยตนเองต้องระบุในส่วนท้ายแบบคำขอเพื่อมอบหมายให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน โดยต้องแนบเอกสารเพิ่มเติมคือ สำเนาบัตรประชาชนของรับมอบอำนาจกระทำการแทน ทั้งนี้วันยื่น เอกสารผู้รับมอบอำนาจจะต้องนำบัตรประชาชนฉบับจริงของตนเองและผู้ถือหุ้นกู้ไปแสดงตนด้วย หรือ | |
ยื่นเอกสารทั้งหมดโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน โดยจะต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม คือ หนังสือรับรองสำเนารายการเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชนที่ออกโดยสำนักงานเขต/อำเภอฉบับจริง (อายุไม่เกิน 90 วันนับจากวันออกเอกสาร) ตามที่อยู่ที่ปรากฎในท้ายแบบฟอร์ม | |
3. 2-3 สัปดาห์ ซึ่งจะนำส่งใบหุ้นกู้ฉบับใหม่ตามวิธีการรับใบหุ้นกู้ที่ท่านระบุไว้ในแบบคำขอออกใบหลักทรัพย์ฉบับใหม่ | |
หมายเหตุ *หากท่านกรอกรายละเอียดในแบบคำขอผิด ให้ขีดฆ่าคำที่ผิด และลงนามกำกับที่ขีดฆ่า ห้ามใช้น้ำยาลบคำผิด | |
กลับสู่ด้านบน |
6. การขอหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย /การขอหนังสือรับรองการถือหุ้นกู้ (ใช้แบบคำขอ ศรท-302 หรือขอผ่านบริการ Investor Portal) |
ดาวน์โหลดเอกสาร |
ผู้ถือหุ้นกู้สามารถเลือกให้นายทะเบียนออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายของดอกเบี้ยหุ้นกู้ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย ได้ 2 วิธีดังนี้ | |
วิธีที่ 1 : ช่องทางออนไลน์ | |
การดาวน์โหลดหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ด้วยตนเอง (ไม่มีค่าใช้จ่าย) โดยสมัครใช้บริการ Investor Portal ของบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (TSD) ผ่านเวปไซด์โดยคลิกลิงก์ https://ivp.tsd.co.th/ | |
เอกสารที่ต้องจัดเตรียม ภาพสแกนบัตรประชาชนที่มีลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง, หมายเลขโทรศัพท์มือถือของท่านผู้ถือหุ้นกู้ | |
ขั้นตอนการสมัคร ดำเนินการตามขั้นตอนที่ปรากฏในหน้าเวปไซต์ | |
การใช้บริการ Investor Portal : Login เข้าระบบ Investor Portal ด้วย User, Password ที่ได้สมัครเรียบร้อยแล้ว โดยสามารถใช้บริการต่างๆ ได้ตามเมนูที่ปรากฎในหน้าจอ เช่น พิมพ์รายงาน (ดาวน์โหลดหนังสือรับรองการหักภาษี, หนังสือรับรองการถือหลักทรัพย์), สอบถามข้อมูล (การถือหุ้นสามัญ/หุ้นกู้, ยอดหุ้น / ใบหุ้น, เอกสารส่งออก), ดาวน์โหลด (ไฟล์ยื่นภาษี) | |
วิธีที่ 2 : ยื่นขอนายทะเบียนหุ้นกู้ (TSD) ออกเอกสาร | |
กรอกแบบคำขอพิมพ์เอกสารสำหรับผู้ถือหลักทรัพย์ (ศรท-302) : | |
1. กรณีขอหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย โปรดระบุรายละเอียดในข้อ 6 ของแบบคำขอฯ เช่น รุ่นหุ้นกู้, งวดที่จ่ายดอกเบี้ย | |
2. กรณีขอหนังสือรับรองการถือหุ้นกู้ โปรดระบุรายละเอียดในข้อ 2 ของแบบคำขอฯ เช่น เอกสารภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ, ข้อมูล ณ วันที่ และระบุวัตถุประสงค์การขอพิมพ์เอกสาร เช่น การขอวีซ่า ฯลฯ | |
3. ระบุรายละเอียดการรับเอกสาร โดยเลือกรับได้ 3 ทาง (รับด้วยตนเองที่ TSD / ส่งเอกสารทางอีเมล์ / ส่งทางไปรษณีย์) | |
เอกสารแนบ : สำเนาบัตรประชาชน พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง ในกรณีนำส่งทางไปรษณีย์โปรดแนบหลักฐานการโอนชำระค่าธรรมเนียมการขอพิมพ์เอกสาร และกรณีต้องการเอกสารเพื่อใช้ขอวีซ่าโปรดแนบสำเนาหนังสือเดินทางเพิ่มเติม | |
ค่าธรรมเนียมการขอพิมพ์เอกสาร : ค่าธรรมเนียมเป็นไปตามที่ระบุในแบบคำขอฯ กรณียื่นด้วยตนเองสามารถชำระเป็นเงินสดได้ที่ TSD หรือกรณีส่งแบบคำขอฯ ทางไปรษณีย์ โปรดชำระเงินด้วยวิธีการโอนเงินเข้าบัญชีที่ระบุไว้ในแบบคำขอฯ | |
การดำเนินการ : นายทะเบียน TSD จะจัดส่งเอกสารให้ท่านภายใน 2 สัปดาห์ นับจากวันที่ได้รับเอกสาร | |
กลับสู่ด้านบน |
7. การขอแก้ไข/ขอออกเช็คดอกเบี้ยหุ้นกู้ กรณีหมดอายุ/ชำรุด/สูญหาย (แบบฟอร์ม TSD) | ดาวน์โหลด แบบฟอร์ม ศรท-201 |
กรณีที่เช็คดอกเบี้ยหุ้นกู้หมดอายุ (อายุเกินกว่า 6 เดือนนับจากวันที่ที่ออกเช็ค) หรือเช็คชำรุด หรือเช็คสูญหาย ผู้ถือหุ้นกู้สามารถยื่นแบบคำขอออกเช็คฉบับใหม่ได้ โดยดำเนินการได้ดังนี้ | |
1. กรอกแบบฟอร์ม “แบบคำขอแก้ไข/ออกเช็คฯ” พร้อมระบุรายละเอียดเช็คฉบับเดิมที่หมดอายุหรือชำรุดหรือสูญหาย และแจ้งความประสงค์เลือกวิธีการรับฉบับใหม่ และแนบเอกสารแสดงตัวตนและประกอบอื่นๆ ตามแต่กรณีโดยปรากฎท้ายแบบฟอร์มดังนี้ | |
กรณีเช็คหมดอายุ / ชำรุด / เปลี่ยนชื่อ-นามสกุล : แนบเช็คฉบับเดิม (เปลี่ยนชื่อ-นามสกุล โปรดแนบหลักฐานเพิ่มเติมแล้วแต่กรณี) | |
กรณีเช็คสูญหาย : แนบบันทึกแจ้งความที่ระบุรายละเอียดเช็คฉบับสูญหาย ดังนี้ | |
1) ชื่อผู้ถือหุ้นกู้ | |
2) ชื่อ/รุ่นหุ้นกู้ | |
3) เลขที่เช็ค | |
4) วันที่เช็ค | |
5) จำนวนเงิน | |
กรณีขอแก้ไขเนื่องจากผู้ถือหุ้นกู้เสียชีวิต : : ผู้จัดการมรดกทำเรื่อง พร้อมแนบเช็คฉบับเดิม และเอกสารประกอบ | |
1) สำเนาคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดไม่เกิน 1 ปี | |
2) สำเนาใบมรณบัตร | |
3) บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงและสำเนาของผู้จัดการมรดก | |
2. ยื่นเอกสารทั้งหมดต่อนายทะเบียน (TSD) | |
ยื่นเอกสารทั้งหมดด้วยตนเองที่นายทะเบียน โดยนำบัตรประชาชน ฉบับจริงเพื่อแสดงตนด้วย หากไม่ได้ยื่นเอกสารด้วยตนเองต้องระบุในส่วนท้ายแบบคำขอเพื่อมอบหมายให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน โดยต้องแนบเอกสารเพิ่มเติมคือ สำเนาบัตรประชาชนของรับมอบอำนาจกระทำการแทน ทั้งนี้วันยื่นเอกสารผู้รับมอบอำนาจจะต้องนำบัตรประชาชนฉบับจริงของ ตนเองและผู้ถือหุ้นกู้ไปแสดงตนด้วย หรือ | |
ยื่นเอกสารทั้งหมดโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน โดยจะต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม คือ หนังสือรับรองสำเนารายการเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชนที่ออกโดยสำนักงานเขต/อำเภอฉบับจริง (อายุไม่เกิน 90 วันนับจากวันออกเอกสาร) ตามที่อยู่ที่ปรากฎในท้ายแบบฟอร์ม | |
กลับสู่ด้านบน |
8. กรณีผู้ถือหุ้นกู้เสียชีวิต (มีคำสั่งศาล) | ดาวน์โหลด แบบฟอร์ม ศรท-103 |
หากผู้ถือหุ้นกู้เสียชีวิตก่อนที่หุ้นกู้จะครบกำหนดไถ่ถอน ผู้จัดการมรดกสามารถยื่นขอจัดการหุ้นกู้หรือหลักทรัพย์มรดกนี้ได้ดังนี้ | |
1. ผู้จัดการมรดกกรอกแบบคำขอจัดการหลักทรัพย์มรดก (หัวข้อแบบคำขอเกี่ยวกับใบหลักทรัพย์ ศรท-103) ให้ครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้จัดการมรดก โดย 1 แบบคำขอฯ จะระบุได้ 1 รุ่นหุ้นกู้เท่านั้น หากมีมากกว่า 1 รุ่นหุ้นกู้จะต้องทำแยกแบบคำขอฯ | |
2. เอกสารแนบประกอบมีดังนี้ | |
1) สำเนาคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกและสำเนาหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด ที่ศาลรับรองไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่ศาลรับรอง และผู้จัดการมรดกรับรองสำเนาถูกต้องทุกหน้า | |
2) สำเนาใบมรณบัตรของผู้ถือหุ้นกู้ที่ถึงแก่กรรม ผู้จัดการมรดกรับรองสำเนาถูกต้อง | |
3) ใบหุ้นกู้ฉบับจริง โดยด้านหลัง ผู้จัดการมรดกลงนามสลักหลังในช่องผู้โอน และ ผู้รับหุ้นกู้มรดกลงนามสลักหลังในช่องผู้รับโอน (กรณีเป็นบุคคลเดียวกันลงนามทั้ง 2 ช่อง) | |
4) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จัดการมรดก และผู้รับโอนหุ้นกู้มรดก รับรองสำเนาถูกต้องโดยเจ้าของบัตรฯ | |
3. ยื่นเอกสารทั้งหมดต่อนายทะเบียน (TSD) | |
ผู้จัดการมรดก, ผู้รับโอนมรดกยื่นเอกสารทั้งหมดด้วยตนเองที่นายทะเบียน โดยนำบัตรประชาชนฉบับจริงเพื่อแสดงตนด้วย หากไม่ได้ยื่นเอกสารด้วยตนเองต้องระบุในส่วนท้ายแบบคำขอเพื่อมอบหมายให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน โดยต้องแนบเอกสารเพิ่มเติมคือ สำเนาบัตรประชาชนของรับมอบอำนาจกระทำการแทน ทั้งนี้วันยื่นเอกสารผู้รับมอบอำนาจจะต้องนำบัตรประชาชนฉบับจริงของตนเองและผู้มอบอำนาจไปแสดงต่อนายทะเบียนด้วย หรือ | |
ยื่นเอกสารทั้งหมดโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ที่ปรากฎในท้ายแบบฟอร์ม | |
กรณีผู้ถือหุ้นกู้เสียชีวิต (ไม่มีคำสั่งศาล) | |
ผู้ถือหุ้นกู้เสียชีวิตก่อนหุ้นกู้ครบกำหนดไถ่ถอน และทายาทมีความประสงค์ จะยื่นคำขอรับหลักทรัพย์มรดกโดยไม่มีคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกนั้น สามารถทำได้หากมูลค่าหุ้นกู้ไม่เกินมูลค่าที่นายทะเบียนหุ้นกู้กำหนด (30,000 บาทหรือแล้วแต่นายทะเบียนกำหนด) โดยนายทะเบียนจะพิจารณาเอกสาร เพื่อที่จะอนุมัติว่าเห็นสมควรให้โอนได้หรือไม่ ถ้านายทะเบียนเห็นสมควร จึงจะทำการโอนให้ แต่หากนายทะเบียนไม่อนุมัติการโอน ผู้ยื่นคำขอจะต้องดำเนินการขอคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเท่านั้น | |
กลับสู่ด้านบน |
9. การจองซื้อหุ้นกู้ SCC ผ่านช่องทาง Online / สาขา - ใบจองซื้อ (มีแบบฟอร์มเฉพาะช่วงเสนอขาย) | ดาวน์โหลดเอกสาร |
2) จองซื้อผ่านสาขาธนาคาร | |
เอกสารประกอบการยื่นจองซื้อหุ้นกู้ | |
1. ใบจองซื้อหุ้นกู้ (มีใบจองซื้อเฉพาะช่วงเสนอขาย) | |
2. หนังสือแจ้งรายละเอียดการรับเงินต้นและดอกเบี้ยงวดสุดท้ายของหุ้นกู้ที่ครบกำหนด (เฉพาะกรณีจองซื้อสิทธิ 1) | |
3. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง | |
4. สำเนาหน้าสมุดบัญชีสำหรับการรับดอกเบี้ยหุ้นกู้ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง | |
5. เอกสารประกอบตามที่ธนาคารกำหนด เช่น หนังสือยินยอมให้ธนาคารหักบัญชีชำระค่าจองซื้อ, แบบสอบถามประเมินระดับความเสี่ยงในการลงทุน |
เอกสารประกอบการแสดงตน | |
บุคคลธรรมดา | |
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ | |
บัตรอื่นๆ ที่ราชการเป็นผู้ออก ซึ่งหากในบัตรนั้นๆ ไม่มีการระบุเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน จะต้องแนบสำเนาทะเบียนบ้านด้วย | |
นิติบุคคล | |
สำเนาหนังสือรับรองบริษัท อายุไม่เกิน 1 ปี | |
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม | |
คณะบุคคล | |
สำเนาหนังสือจัดตั้งคณะบุคคล | |
สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีของคณะบุคคล | |
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของคณะบุคคลทั้งคณะ | |
กลับสู่ด้านบน |
หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ สำนักงานการเงิน บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
ถนนปูนซิเมนต์ไทย บางซื่อ กรุงเทพฯ 10800 หมายเลขโทร. 66 2586 2112 อีเมล์ : debentureclub@scg.com